โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ
                         เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในเขตอุทยานแห่งชาติ

1. หลักการและเหตุผล

                    อุทยานแห่งชาติเป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อคุ้มครองพื้นที่ธรรมชาติอันมีลักษณะโดดเด่นในความสมบูรณ์ของความหลากหลายทางชีวภาพ
ของป่าไม้และสัตว์ป่า ที่มีคุณค่า เป็นสถานการที่ให้ประชาชนได้เข้าไปใช้ประโยชน์เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจด้วยมีทิวทัศน์ที่สวยงาม และยังเป็นที่ศึกษาหาความรู้ในด้านทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยวัตถุประสงค์ของการจัดการพื้นที่อุทยานแห่งชาติ คือการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่ออำนวยประโยชน์แก่ประชาชนอย่างยั่งยืน การดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่ผ่านมา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นหน่วยงานของรัฐ ที่มีหน้าที่หลักในการดำเนินการเรื่องดังกล่าวตามกฎหมาย ระเบียบและนโยบายที่เกี่ยวข้องประกอบกับนโยบายของรัฐบาล ได้ส่งเสริมให้ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยเห็นว่าการดำเนินการคุ้มครองพื้นที่ป่าอนุรักษ์นั้น มิใช่เรื่องของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เท่านั้น แต่ทุกภาคส่วนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ดูแลและจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยแต่ละภาคส่วน จะมีบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันไป เช่น ราษฎร/ชุมชน จะมีบทบาทในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรค และเสนอแนะแนวทางในการอนุรักษ์พื้นที่ ฝ่ายปกครอง องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น จะมีบทบาทในการประชาสัมพันธ์และสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ สำหรับสถานศึกษามีหน้าที่ที่สำคัญในการให้ความรู้แก่ประชาชน และเยาวชน รวมทั้งให้การสนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ดังนั้น เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พื้นที่ อุทยานแห่งชาติ มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักและให้ความสำคัญต่อทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง และมีส่วนร่วมในการสนับสนุน ให้การประสานการดำเนินงานด้าน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงได้จัดทำโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในเขตอุทยานแห่งชาติขึ้น เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้มีความรู้ ความเข้าใจ และรับทราบถึงบทบาทหน้าที่ของตนในการดำเนินการดังกล่าว และยังได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินงาน พร้อมทั้งรับทราบถึงปัญหาและพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เพื่อให้การดำเนินการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาต ิและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น

2. วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อสร้างความเข้าใจ และให้ความสำคัญต่อการทำงานอย่างมีส่วนร่วมในการอนุรักษ ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อุทยานแห่งชาติโดยมีชุมชนเป็นฐานให้กับหัวหน้าอุทยานแห่งชาติ

2.2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมในพื้นที่ได้รับความรู้ ความเข้าใจ และตระหนังถึงความสำคัญในบทบาทหน้าที่ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในอุทยานแห่งชาติอย่างมีส่วนร่วม

2.3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และปัญหา รวมทั้งร่วมหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างมีส่วนร่วม จากภาคีผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

2.4 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ร่วมกันกำหนดแนวทางในการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องเหมาะสม และมีส่วนร่วมจากภาคี ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่

3. ผู้เข้าร่วมประชุม

3.1 หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ

3.2 เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ

3.3 ผู้แทนฝ่ายปกครองส่วนภูมิภาค ได้แก่ นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน

3.4 ผู้แทนฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)

3.5 ผู้แทนหน่วยงานของรัฐที่มีบทบาทเกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ ทหาร เจ้าหน้าที่เกษตร ที่ดิน ประมง พัฒนากร เป็นต้น ครู อาจารย์ นิสิต นักศึกษา หรือเจ้าหน้าที่จากสถานศึกษาที่เกี่ยวข้อง

3.6 ผู้แทนชุมชนอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ หรือองค์กรชุมชนที่เกี่ยวข้อง เช่น กลุ่มแม่บ้าน สหกรณ์ ผู้แทนชุมชนต่างๆ

3.7 ผู้นำศาสนา

3.8 ผู้ประกอบการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุทยานแห่งชาติ เช่น ด้านการท่องเที่ยว ด้านการบริการอาหารหรือที่พัก

3.9 องค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง (NGOs)

3.10ผู้แทนสื่อมวลชน

3.11ประชาชน ราษฎร และบุคคลต่างๆ ที่มีส่วนได้ส่วนเสียรอบพื้นที่อุทยานแห่งชาติ

1
National Park Division, Protected Area Regional Office 3 (Banpong)
54/10 Khailuang Rd., Banpong, Ratchaburi 70000 Thailand
Tel. 032 200120 Fax : 032 200119 E-mail : np3banpong@gmail.com